การศึกษาระบุว่า ช้างแมมมอธตัวสุดท้ายบนโลกนี้มีชีวิตอยู่เมื่อราว 4,000 ก่อน บนเกาะแรงเกล (Wrangel) ในมหาสมุทรอาร์กติก แต่อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ช้างยักษ์ขนยาวนี้สูญพันธุ์ไป คือ คำถามที่ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์หาคำตอบด้วยการวิจัยพันธุกรรมระดับจีโนม

ผลงานการศึกษาวิจัยที่ว่านี้เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ออกมาในวารสาร Cell เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาและนำเสนอรายละเอียดย้อนอดีตไปดูตั้งแต่การผสมพันธุ์ กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก การกลายพันธุ์ที่ส่งผลร้ายต่อแมมมอธ และภาวะความหลากหลายทางพันธุกรรมในระดับต่ำซึ่งช้างดึกดำบรรพ์ฝูงสุดท้ายที่เชื่อว่าใช้ชีวิตอยู่บนเกาะอันโดดเดี่ยวเป็นเวลา 6,000 ปี ต้องเผชิญ

ถึงกระนั้น ปัจจัยเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ของแมมมอธอยู่ดี

มารีแอนน์ เดฮาสก์ จากมหาวิทยาลัยอัพพ์ซาลา ในสวีเดน ซึ่งเป็นผู้นำทีมจัดทำรายงานนี้ กล่าวว่า สิ่งที่นักวิจัยค้นพบ “ชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนที่ทำให้ประชากร(แมมมอธ) ล้มหายตายจากไป”

ในการศึกษานี้ นักวิจัยตรวจสอบข้อมูลจีโนมที่ได้มาจากซากแมมมอธบนเกาะแรงเกลจำนวน 14 ตัว และซากแมมมอธ 7 ตัวจากแผ่นดินใหญ่ของไซบีเรียซึ่งเป็นบรรพบุรุษของแมมมอธบนเกาะดังกล่าวที่มีอายุย้อนไปไกลถึงเมื่อ 50,000 ปีก่อน

รายงานนี้อธิบายด้วยว่า เมื่อยุคน้ำแข็งค่อย ๆ จบลง ทุ่งน้ำแข็งซึ่งเป็นที่อยู่ของแมมมอธก็ค่อย ๆ หดหายจากภูมิภาคทางใต้ของโลกไปจนถึงตอนเหนือ และสภาพอากาศของโลกก็ค่อย ๆ กลายมาเป็นป่าร้อนชื้นพร้อม ๆ กับอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น จนทำให้ช้างดึกดำบรรพ์นี้ต้องใช้ชีวิตอยู่แต่เพียงในแถบเหนือที่สุดของยุโรปเท่านั้น

Advertisement
ข้อมูลจีโนมยังเผยด้วยว่า ฝูงประชากรแมมมอธบนเกาะแรงเกลนั้นน่าจะเริ่มต้นด้วยจำนวนไม่เกิน 6 ตัว ก่อนจะขยายฝูงเป็น 200-300 ตัวผ่านแมมมอธราว 20 รุ่นตลอดช่วงเวลา 600 ปีก่อนจะคงอยู่อย่างนั้นจนถึงวันที่สูญพันธุ์ไป

ทั้งนี้ การศึกษาตรวจพบว่า ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของประชากรแมมมอธเกาะแรงเกลนั้นลดลง ขณะที่ อัตราการกลายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่อตัวช้างพอประมาณก็ค่อย ๆ หายไปพร้อมกับกาลเวลา ซึ่งเชื่อว่า เป็นเพราะช้างแมมมอธที่มีปัญหาที่ว่ามีชีวิตอยู่ไม่นานและไม่ได้ทำหน้าที่แพร่พันธุ์เท่าไรเลย

ในการศึกษาก่อนหน้านี้ ผลสรุปที่ออกมามีความคล้ายกันด้วยข้อสรุปว่า การสูญพันธุ์ของแมมมอธนั้นเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สะสมติดต่อกันมา

เลิฟ ดาเลน นักพันธุศาสตร์จากศูนย์ Center for Palaeogenetics ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ในสวีเดนและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสวีเดน กล่าวว่า เหตุผลที่นักวิจัยไม่เชื่อว่า การผสมพันธุ์เลือดชิด หรือการผสมพันธุ์ในครอบครัวเดียวกัน หรือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมในระดับต่ำ หรือ การกลายพันธุ์ที่เป็นอันตราย คือ สาเหตุที่ทำให้ประชากรแมมมอธหายไปจากโลกนี้ก็เพราะว่า หากเป็นเช่นนั้น ประชากรช้างควรจะค่อย ๆ หดลง พร้อม ๆ กับการผสมพันธุ์เลือดชิดที่เกิดบ่อยขึ้น และการสูญสิ้นของความหลากหลายทางพันธุกรรม “แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราพบ (กล่าวคือ) แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดหรือความหลากหลายทางพันธุกรรมตลอดเวลา 6,000 ปีที่แมมมอธใช้ชีวิตกันเองบนเกาะนี้”